กต.ตร.

คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ

สถานีตำรวจภูธรกู่แก้ว

ที่มา

– กต.ตร. ย่อมาจาก “คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ” เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญปี 2540 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ตรวจสอบติดตามการบริหารงานของตำรวจในทุกระดับ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงกิจการตำรวจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

-ใน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ปี 2547 กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) จัดให้มี กต.ตร. แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ กต.ตร.กรุงเทพมหานคร, กต.ตร.ระดับจังหวัด และ กต.ตร.ระดับสถานีตำรวจ

 

บทบาท

– คณะกรรมการระดับสถานีตำรวจ ( กต.ตร.สถานีตำรวจ ) เป็นองค์กรที่นำนโยบายพัฒนาและการบริหารงาน ตำรวจไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลตามนโยบายระดับชาติที่กำหนด รวมทั้งนำความคิดเห็น และปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่กลับขึ้นสู่กระบวนการกำหนดนโยบายระดับชาติให้สอดคล้อง กับความต้องการของประชาชน อย่างแท้จริงโดยมีประชาชนเข้ามาเป็นกรรมการในคณะกรรมการทุกระดับ

 

อำนาจหน้าที่ กต.ตร.สถานีตำรวจ

1.รับแนวทางและนโยบายการพัฒนาและการบริหารงานตำรวจจาก ก.ต.ช.ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลตามนโยบาย

2.ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจ ให้เป็นไปตามนโยบาย ก.ต.ช.

3.ส่งเสริมให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราซการ และการบริหารงานตำรวจ

4.ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจ ให้เป็นไปตามนโยบาย ก.ต.ช.

5.รับคำร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจ และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยการรับคำร้องเรียนของประชาชน เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ

6.ให้ข้อมูลข่าวสาร และเสนอปัญหาความเดือดร้อน และความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่

7.ให้คำแนะนำ และช่วยเหลือสนับสนุนการประชาสัมพันธ์งานของสถานีตำรวจ

8.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ กต.ตร.สน. มอบหมาย

9.รายงานผลการปฏิบัติงานให้ ก.ต.ช. ทราบ ตามที่ ก.ต.ช. กำหนด

10.อำนาจหน้าที่อื่นตามที่ ก.ต.ช. มอบหมาย

 

 

 

แผนผัง กต.ตร.สภ.กู่แก้ว

Loader Loading...
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download

 

ผลการดำเนินการของ กต.ตร.สภ.กู่แก้ว

Loader Loading...
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

Download

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *